ตลาดร้อยปีระแหง ตลาดเก่า ตลาดที่ท่องเที่ยวที่คนลืมเลือนก็ว่าได้เป็นตลาดเก่าแก่ของชุมชนระแหงที่อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานีครับ
ชุมชนเก่าแก่ที่เป็นจุดค้าขายที่สำคัญของชุมชน จัดเป็นตลาดเก่าอีกแห่งที่น่าเที่ยว แต่ว่าตอนนี้
คนขายและนักท่องเที่ยวน้อยลง ททท.ต้องประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้มากขึ้น
มาดูประวัติกันซะหน่อยครับตลาดร้อยปีระแหง ตั้งอยู่ที่ชายคลองระแหงติดต่อคลองพระอุคม ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว
ตลาดทั้งสองฝั่งคลองปลูก สร้างด้วยไม้ เป็นห้องแถวติดต่อกันยาว
การเดินทางของผู้คนในสมัยก่อนเดินทางทางเรือและทางรถไฟ โดยมีทางรถไฟสายแรก คือ สายตลาดระแหง-บางบัวทอง
มาสิ้นสุดที่โรงเรียนวรพงษ์ หมู่ 4 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว
ต่อมาการคมนาคมเจริญขึ้น มีถนนผ่านหน้าอำเภอลาดหลุมแก้ว ผู้คนก็หันมาสัญจรทางรถยนต์กัน กิจกรรมรถไฟก็ล้มเลิกไป
แต่ยังคงเหลือตลาดเอาไว้ให้เป็น อนุสรณ์อยู่จนทุกวันนี้
ทางอำเภอลาดหลุมแก้วร่วมกับเทศบาลตำบลระแหงและชาวตลาดระแหง ได้ร่วมกันอนุรักษ์ตลาดเก่าที่ยังรักษาชุมชนเดิมไว้ได้
โดยจัดเป็นตลาดน้ำเหมือนในอดีต เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดปทุมธานี
ในส่วนบริเวณคลองระแหง หน้าลาน วัดบัวแก้วเกษร ได้มีการจัดทำสถานที่เลี้ยงปลาบริเวณคลองระแหง โดยเก็บกักรักษาระดับน้ำให้เป็นสถานที่พัก
ผ่อนหย่อนใจ อีกจุด หนึ่งที่ศาลาริมน้ำข้างห้องสมุด จัดทำเป็นท่าเรือรับ-ส่งนักท่องเที่ยว และจำหน่ายสินค้าในทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เช่น ขนมพื้น
บ้าน ขนมไทยโบราณ ผลิตผลทางการเกษตร
ตั้งแต่สะพานคลองระแหงจะทำทางเดินเชื่อมต่อกันระหว่างลานวัดกับตลาด เพราะตรงนี้ ชาวตลาดระแหงอยู่กันมาตั้งแต่รุ่นทวด โดยยังอนุรักษ์
ชุมชนดั้งเดิมไว้จนได้รับรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี
ในตลาดมีร้านขายอุปกรณ์จับสัตว์น้ำอายุกว่า 90 ปี ร้านขายยาจีนและยาแผนโบราณ ร้านตัดผมรุ่นคุณปู่ ร้านขาย อุปกรณ์การเกษตรก็ยังอยู่ มีทั้ง
เคียวเกี่ยวข้าว จอบ เสียม ค้อน ตะปู เครื่องใช้ในครัวเรือน ปุ๋ยหมัก หม้อดินเผาหุ้งข้าว หรือร้าน อาหารขึ้นชื่อ คือ ร้านแปโภชนา ซึ่งเป็นร้านเก่าแก่
ขายกันมาเกือบ 70 ปี แล้ว
นอกจากนี้ที่บ้านของนายเกียรติคุณ สุทธาภิรมย์ นายกเทศมนตรีตำบลระแหงยังจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณ เปิดให้
เข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ผู้สนใจสามารถเดินทางมาชมตลาดระแหงได้ทุกวัน แต่ชาวบ้านจะเปิดร้านสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยวกันใน วันเสาร์
และอาทิตย์
การเดินทางไปตลาดร้อยปีระแหง
ตลาดระแหงอยู่ห่างจากตัวเมืองปทุมธานีไปทางอำเภอลาดหลุมแก้ว 13 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงได้ 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-รังสิต-ปทุมธานี
หรือรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปากเกร็ด-ปทุมธานี หรือกรุงเทพฯ-บางใหญ่-บางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว-ปทุมธานี จากตัวเมือง ปทุมธานีมุ่งหน้าไปยังอำเภอ
ลาดหลุมแก้วตามเส้นทางหลวงหมายเลข 346 ระยะทาง 13 กิโลเมตร ถึงตลาดตำบลระแหง
ขอบคุณที่มานะครับที่มา http://paiduaykan.com/
ทราบข้อมูลประวัติต่างๆแล้วมาถึงก็สายๆพอดีตอนนี้ชักจะหิวแล้ว แวะร้านแปโภชนาก่อนนะ
ปลาช่อนทอดน้ำปลาของร้านแปโภชนาขอบอกว่าอร่อยมากๆ
มื้อนี้อาหารอร่อยมากๆ มากินร้านขึ้นชื่อของตลาดระแหงแต่ก็เผ็ดไปนิด
คนมากินเต็มร้าน ครับร้านขึ้นชื่อเนี่ยคนเยอะจริงๆ ขอบอกว่าทุกเมนูอร่อยมากๆ
มาถึงตลาดแล้วไปไหว้ศาลเจ้าระแหงก่อนน่ะเดี๋ยวเราเดินเที่ยวให้ทั่วตลาดเลย
ไปไหว้กันนะครับเข้าไปด้านใน จะได้เป็นศิริมงคลกับตัวเอง
ไปชมบ้านของนายเกียรติคุณ สุทธาภิรมย์ ชมของเก่าๆของบ้าน
ของเก่าข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณ ที่เก็บไว้ให้ชมเข้าไปชมได้เลยนะครับ
มีทั้งธนบัตรเก่าๆ เตารีดสมัยก่อน โทรศัพท์ อีกเยอะแยะมากมาย
เดินชมไปเรื่อย ๆ คุณยายเจ้าของบ้านก็มาแนะนำและให้เข้าไปชม ของเก่ามากมายหลายอย่าง
คุณยายบอกว่าของเก่า ๆ เหล่านี้ก็ต้องสะสมไว้หลายปีเหมือนกันถ้ารักของเก่าก็เก็บไว้เรื่อยๆ
แล้วในอนาคตมันก็จะมีคุณค่าของมันเอง
จากนั้นเดินแวะซื้ออะไรกินซะหน่อย หิวแล้ว
บ้านของตระกูลสุทธาภิรมย์ มาอ่านประวัติกันก่อนก่อนเข้าไปชมกันนะครับ
บ้านเป็นตึกแถวเก่าๆ ริมคลองได้บรรยากาศดีมาก ๆ ลมพัดเย็น ๆ
ร้านรวงที่ตลาดระแหงปิดหลายร้านแล้วเพราะความเงียบเหงา และคนรุ่นไหม่ไปรับจ้าง ในเมืองในกทม.
มีแต่คนรุ่นแก่ ๆ ที่มาเปิดร้านเท่านั้น
ถึงแม้จะเป็นวันเสาร์อาทิตย์ก็ไม่คึกคักมากเท่าไหร่ นัก ผมว่า คนที่คาดหวังสูงว่ามาตลาดที่นี่จะเหมือนตลาดอื่นๆที่มี
ชื่อเสียงอาจจะผิดหวังได้
ผ่านร้านไก่เฮงการประมงร้านนี้จะขายเครื่องไม้เครื่องมือในการหาปลาทุกอย่าง
มาซื้อสวิงหาปลาหรือแหที่ร้านนี้ได้เลย
จากนั้นแวะร้านบุญเจริญแอนติก เป็นร้านที่ขายของที่ระลึกเช่นกัน
แวะมาชมของเก่ากันก่อนและเจ้าของร้านบอกว่าแวะชมของเก่าก่อน
ของเก่า ๆ เหมือนร้านที่ผ่านมาและถ่ายรูปได้ตามใจชอบ ไม่ซื้อก็มาถ่ายรูปได้ จ้า
จริงๆชื่อเดิมน่าจะชื่อเฉลิมชัย
มาอ่านประวัติกันก่อนนะครับมีป้ายติดหน้าร้านให้ทราบประวัติความเป็นมาก่อน
ชุมชนตลาดระแหงเป็นชุมชนเก่าติดคลอง ที่มีบรรยากาศดี ๆ แต่ตอนนี้ตลาดเหงาร้างคนเที่ยว แต่ที่สำคัญในมุมมองของ
ผมคิดว่าที่นี่เป็นตลาดแห่งวิถีชีวิตดั้งเดิมแท้จริงไม่มีการตกแต่งอย่างใด จึงเป็นความงดงามของการไม่แต่งเติมอย่าง
แท้จริงน่าเที่ยวอีกแห่งครับ
จากนั้นขับรถไปเที่ยวต่อที่วัดสิงห์ที่สามโคก ปทุมธานีกันต่อ
มาทำความรู้จักวัดสิงห์กันก่อนนะครับ วัดสิงห์ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่า
แก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดสิงห์ บนกุฎิของวัดมี
พิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่าได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อครั้งเสด็จประพาสเมือง สามโคก ใบ
ลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป
เล่ากันมาว่า วัดสิงห์เป็นวัดโบราณ ในบันทึกพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดคู่เมืองสามโคก
บริเวณนี้มีการอพยพเข้าออกมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของ
ชาวมอญมาหลายยุคสมัย ตามการสันนิษฐานวัดแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหรือใน
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงปี พ.ศ.2202-2210 ที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา
มีคลองเชื่อมสำหรับเรือเข้าออกเรียกว่า คลองวัดสิงห์
ไปไหว้พระกันนะครับ ไหว้พระหน้ายิ้มกับพระหน้าบึ้ง
เล่าขานกันมาว่า พระยิ้มและพระหน้าบึ้ง ที่ดูๆ แล้วก็พลอยให้เราอมยิ้มและหน้าบึ้งตามไปด้วย อยู่ด้านหลัง หลวงพ่อโต
ผมดูแล้วก็ไม่เห็นจะบึ้งหรือยิ้มตรงไหนเลยหรือว่าสังเกตุไม่เป็นไม่รู้
ไหว้พระที่วัดสิงห์ สถานที่ที่นี่เงียบสงบผู้คนน้อยมากๆต่างจากวัดโบสถ์ที่มีผู้คนต่างมาทำบุญกันอย่างเนืองแน่น
พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) อยู่ด้านหลังหลวงพ่อโตวัดนี้เงียบสงบจริงๆ
ความสงบของวัดนี่เองที่เป็นทำให้จิตใจของเราสงบตามมาไม่ต้องแย่งกันทำบุญเหมือนวัดดังๆ
จากนั้นไปไหว้พระที่ศาลาและไปชมพิพิธภัณฑ์ที่แสดงวัตถุโบราณต่างที่ทางวัดได้เก็บไว้แสดง
ส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุที่ได้มาจากกรุโบราณของวัด ปัจจุบันยังไม่ได้ทำทะเบียนครบทุกชิ้น เป็นพระพุทธรูปโบราณ
แม้จะเป็นชิ้นส่วนไม่สมบูรณ์เต็มองค์ แต่ด้วยศิลปะฝีมือช่างชั้นเยี่ยม ความสวยงามยังคงปรากฏอย่างแจ่มชัด ส่วนที่เป็นของพื้นบ้าน
ยังมีตุ่มจากนั้นไปไหว้พระที่ศาลาและไปชมพิพิธภัณฑ์ที่แสดงวัตถุโบราณต่างที่ทางวัดได้เก็บไว้แสดง
ยังมีตุ่มสามโคกที่เป็นของแท้สามใบ ลักษณะเป็นตุ่มดินเผาเนื้อดินสีแดงสีหมากสุก อิฐมอญแปดรู ใช้ในการก่อสร้างสมัยก่อน
ซึ่งสมัยก่อนตุ่มสามโคกงดงามทนทานเหมือนตุ่มราชบุรีเลยทีเดียว
อิฐมอญครับเป็นอิฐเก่าแก่และทรงคุณค่าทนทาน ที่สมัยก่อนใครๆก็มาซื้ออิฐมอญที่นี่ที่สามโคก
ของเก่าๆที่มีคุณค่าที่วัดสิงห์แห่งนี้น่าชม และได้ความรู้มากมายเกี่ยวกับประวัติของตุ่มสามโคกอีกด้วย
การเดินทางไปวัดสิงห์ ไปได้ทั้งทางเรือ และทางรถยนต์ โดยถนนสายปทุมธานี-สามโคก เพียง 3 กม.
และมีทางแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 2 กม.ป้ายบอกทางเข้าวัดที่ปากซอยค่อนข้างเล็ก ต้องระมัดระวังรถสวนให้ดี
ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาชมรีวิวที่แสนจะธรรมดาของผมทุกท่านนะครับ
ที่มา Pantip
Cr. paipaiphuart
ชุมชนเก่าแก่ที่เป็นจุดค้าขายที่สำคัญของชุมชน จัดเป็นตลาดเก่าอีกแห่งที่น่าเที่ยว แต่ว่าตอนนี้
คนขายและนักท่องเที่ยวน้อยลง ททท.ต้องประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้มากขึ้น
มาดูประวัติกันซะหน่อยครับตลาดร้อยปีระแหง ตั้งอยู่ที่ชายคลองระแหงติดต่อคลองพระอุคม ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว
ตลาดทั้งสองฝั่งคลองปลูก สร้างด้วยไม้ เป็นห้องแถวติดต่อกันยาว
การเดินทางของผู้คนในสมัยก่อนเดินทางทางเรือและทางรถไฟ โดยมีทางรถไฟสายแรก คือ สายตลาดระแหง-บางบัวทอง
มาสิ้นสุดที่โรงเรียนวรพงษ์ หมู่ 4 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว
ต่อมาการคมนาคมเจริญขึ้น มีถนนผ่านหน้าอำเภอลาดหลุมแก้ว ผู้คนก็หันมาสัญจรทางรถยนต์กัน กิจกรรมรถไฟก็ล้มเลิกไป
แต่ยังคงเหลือตลาดเอาไว้ให้เป็น อนุสรณ์อยู่จนทุกวันนี้
ทางอำเภอลาดหลุมแก้วร่วมกับเทศบาลตำบลระแหงและชาวตลาดระแหง ได้ร่วมกันอนุรักษ์ตลาดเก่าที่ยังรักษาชุมชนเดิมไว้ได้
โดยจัดเป็นตลาดน้ำเหมือนในอดีต เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดปทุมธานี
ในส่วนบริเวณคลองระแหง หน้าลาน วัดบัวแก้วเกษร ได้มีการจัดทำสถานที่เลี้ยงปลาบริเวณคลองระแหง โดยเก็บกักรักษาระดับน้ำให้เป็นสถานที่พัก
ผ่อนหย่อนใจ อีกจุด หนึ่งที่ศาลาริมน้ำข้างห้องสมุด จัดทำเป็นท่าเรือรับ-ส่งนักท่องเที่ยว และจำหน่ายสินค้าในทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เช่น ขนมพื้น
บ้าน ขนมไทยโบราณ ผลิตผลทางการเกษตร
ตั้งแต่สะพานคลองระแหงจะทำทางเดินเชื่อมต่อกันระหว่างลานวัดกับตลาด เพราะตรงนี้ ชาวตลาดระแหงอยู่กันมาตั้งแต่รุ่นทวด โดยยังอนุรักษ์
ชุมชนดั้งเดิมไว้จนได้รับรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี
ในตลาดมีร้านขายอุปกรณ์จับสัตว์น้ำอายุกว่า 90 ปี ร้านขายยาจีนและยาแผนโบราณ ร้านตัดผมรุ่นคุณปู่ ร้านขาย อุปกรณ์การเกษตรก็ยังอยู่ มีทั้ง
เคียวเกี่ยวข้าว จอบ เสียม ค้อน ตะปู เครื่องใช้ในครัวเรือน ปุ๋ยหมัก หม้อดินเผาหุ้งข้าว หรือร้าน อาหารขึ้นชื่อ คือ ร้านแปโภชนา ซึ่งเป็นร้านเก่าแก่
ขายกันมาเกือบ 70 ปี แล้ว
นอกจากนี้ที่บ้านของนายเกียรติคุณ สุทธาภิรมย์ นายกเทศมนตรีตำบลระแหงยังจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณ เปิดให้
เข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ผู้สนใจสามารถเดินทางมาชมตลาดระแหงได้ทุกวัน แต่ชาวบ้านจะเปิดร้านสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยวกันใน วันเสาร์
และอาทิตย์
การเดินทางไปตลาดร้อยปีระแหง
ตลาดระแหงอยู่ห่างจากตัวเมืองปทุมธานีไปทางอำเภอลาดหลุมแก้ว 13 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงได้ 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-รังสิต-ปทุมธานี
หรือรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปากเกร็ด-ปทุมธานี หรือกรุงเทพฯ-บางใหญ่-บางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว-ปทุมธานี จากตัวเมือง ปทุมธานีมุ่งหน้าไปยังอำเภอ
ลาดหลุมแก้วตามเส้นทางหลวงหมายเลข 346 ระยะทาง 13 กิโลเมตร ถึงตลาดตำบลระแหง
ขอบคุณที่มานะครับที่มา http://paiduaykan.com/
ทราบข้อมูลประวัติต่างๆแล้วมาถึงก็สายๆพอดีตอนนี้ชักจะหิวแล้ว แวะร้านแปโภชนาก่อนนะ
ปลาช่อนทอดน้ำปลาของร้านแปโภชนาขอบอกว่าอร่อยมากๆ
มื้อนี้อาหารอร่อยมากๆ มากินร้านขึ้นชื่อของตลาดระแหงแต่ก็เผ็ดไปนิด
คนมากินเต็มร้าน ครับร้านขึ้นชื่อเนี่ยคนเยอะจริงๆ ขอบอกว่าทุกเมนูอร่อยมากๆ
มาถึงตลาดแล้วไปไหว้ศาลเจ้าระแหงก่อนน่ะเดี๋ยวเราเดินเที่ยวให้ทั่วตลาดเลย
ไปไหว้กันนะครับเข้าไปด้านใน จะได้เป็นศิริมงคลกับตัวเอง
ไปชมบ้านของนายเกียรติคุณ สุทธาภิรมย์ ชมของเก่าๆของบ้าน
ของเก่าข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณ ที่เก็บไว้ให้ชมเข้าไปชมได้เลยนะครับ
มีทั้งธนบัตรเก่าๆ เตารีดสมัยก่อน โทรศัพท์ อีกเยอะแยะมากมาย
เดินชมไปเรื่อย ๆ คุณยายเจ้าของบ้านก็มาแนะนำและให้เข้าไปชม ของเก่ามากมายหลายอย่าง
คุณยายบอกว่าของเก่า ๆ เหล่านี้ก็ต้องสะสมไว้หลายปีเหมือนกันถ้ารักของเก่าก็เก็บไว้เรื่อยๆ
แล้วในอนาคตมันก็จะมีคุณค่าของมันเอง
จากนั้นเดินแวะซื้ออะไรกินซะหน่อย หิวแล้ว
บ้านของตระกูลสุทธาภิรมย์ มาอ่านประวัติกันก่อนก่อนเข้าไปชมกันนะครับ
บ้านเป็นตึกแถวเก่าๆ ริมคลองได้บรรยากาศดีมาก ๆ ลมพัดเย็น ๆ
ร้านรวงที่ตลาดระแหงปิดหลายร้านแล้วเพราะความเงียบเหงา และคนรุ่นไหม่ไปรับจ้าง ในเมืองในกทม.
มีแต่คนรุ่นแก่ ๆ ที่มาเปิดร้านเท่านั้น
ถึงแม้จะเป็นวันเสาร์อาทิตย์ก็ไม่คึกคักมากเท่าไหร่ นัก ผมว่า คนที่คาดหวังสูงว่ามาตลาดที่นี่จะเหมือนตลาดอื่นๆที่มี
ชื่อเสียงอาจจะผิดหวังได้
ผ่านร้านไก่เฮงการประมงร้านนี้จะขายเครื่องไม้เครื่องมือในการหาปลาทุกอย่าง
มาซื้อสวิงหาปลาหรือแหที่ร้านนี้ได้เลย
จากนั้นแวะร้านบุญเจริญแอนติก เป็นร้านที่ขายของที่ระลึกเช่นกัน
แวะมาชมของเก่ากันก่อนและเจ้าของร้านบอกว่าแวะชมของเก่าก่อน
ของเก่า ๆ เหมือนร้านที่ผ่านมาและถ่ายรูปได้ตามใจชอบ ไม่ซื้อก็มาถ่ายรูปได้ จ้า
จริงๆชื่อเดิมน่าจะชื่อเฉลิมชัย
มาอ่านประวัติกันก่อนนะครับมีป้ายติดหน้าร้านให้ทราบประวัติความเป็นมาก่อน
ชุมชนตลาดระแหงเป็นชุมชนเก่าติดคลอง ที่มีบรรยากาศดี ๆ แต่ตอนนี้ตลาดเหงาร้างคนเที่ยว แต่ที่สำคัญในมุมมองของ
ผมคิดว่าที่นี่เป็นตลาดแห่งวิถีชีวิตดั้งเดิมแท้จริงไม่มีการตกแต่งอย่างใด จึงเป็นความงดงามของการไม่แต่งเติมอย่าง
แท้จริงน่าเที่ยวอีกแห่งครับ
จากนั้นขับรถไปเที่ยวต่อที่วัดสิงห์ที่สามโคก ปทุมธานีกันต่อ
มาทำความรู้จักวัดสิงห์กันก่อนนะครับ วัดสิงห์ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่า
แก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดสิงห์ บนกุฎิของวัดมี
พิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่าได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อครั้งเสด็จประพาสเมือง สามโคก ใบ
ลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป
เล่ากันมาว่า วัดสิงห์เป็นวัดโบราณ ในบันทึกพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดคู่เมืองสามโคก
บริเวณนี้มีการอพยพเข้าออกมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของ
ชาวมอญมาหลายยุคสมัย ตามการสันนิษฐานวัดแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหรือใน
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงปี พ.ศ.2202-2210 ที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา
มีคลองเชื่อมสำหรับเรือเข้าออกเรียกว่า คลองวัดสิงห์
ไปไหว้พระกันนะครับ ไหว้พระหน้ายิ้มกับพระหน้าบึ้ง
เล่าขานกันมาว่า พระยิ้มและพระหน้าบึ้ง ที่ดูๆ แล้วก็พลอยให้เราอมยิ้มและหน้าบึ้งตามไปด้วย อยู่ด้านหลัง หลวงพ่อโต
ผมดูแล้วก็ไม่เห็นจะบึ้งหรือยิ้มตรงไหนเลยหรือว่าสังเกตุไม่เป็นไม่รู้
ไหว้พระที่วัดสิงห์ สถานที่ที่นี่เงียบสงบผู้คนน้อยมากๆต่างจากวัดโบสถ์ที่มีผู้คนต่างมาทำบุญกันอย่างเนืองแน่น
พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) อยู่ด้านหลังหลวงพ่อโตวัดนี้เงียบสงบจริงๆ
ความสงบของวัดนี่เองที่เป็นทำให้จิตใจของเราสงบตามมาไม่ต้องแย่งกันทำบุญเหมือนวัดดังๆ
จากนั้นไปไหว้พระที่ศาลาและไปชมพิพิธภัณฑ์ที่แสดงวัตถุโบราณต่างที่ทางวัดได้เก็บไว้แสดง
ส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุที่ได้มาจากกรุโบราณของวัด ปัจจุบันยังไม่ได้ทำทะเบียนครบทุกชิ้น เป็นพระพุทธรูปโบราณ
แม้จะเป็นชิ้นส่วนไม่สมบูรณ์เต็มองค์ แต่ด้วยศิลปะฝีมือช่างชั้นเยี่ยม ความสวยงามยังคงปรากฏอย่างแจ่มชัด ส่วนที่เป็นของพื้นบ้าน
ยังมีตุ่มจากนั้นไปไหว้พระที่ศาลาและไปชมพิพิธภัณฑ์ที่แสดงวัตถุโบราณต่างที่ทางวัดได้เก็บไว้แสดง
ยังมีตุ่มสามโคกที่เป็นของแท้สามใบ ลักษณะเป็นตุ่มดินเผาเนื้อดินสีแดงสีหมากสุก อิฐมอญแปดรู ใช้ในการก่อสร้างสมัยก่อน
ซึ่งสมัยก่อนตุ่มสามโคกงดงามทนทานเหมือนตุ่มราชบุรีเลยทีเดียว
อิฐมอญครับเป็นอิฐเก่าแก่และทรงคุณค่าทนทาน ที่สมัยก่อนใครๆก็มาซื้ออิฐมอญที่นี่ที่สามโคก
ของเก่าๆที่มีคุณค่าที่วัดสิงห์แห่งนี้น่าชม และได้ความรู้มากมายเกี่ยวกับประวัติของตุ่มสามโคกอีกด้วย
การเดินทางไปวัดสิงห์ ไปได้ทั้งทางเรือ และทางรถยนต์ โดยถนนสายปทุมธานี-สามโคก เพียง 3 กม.
และมีทางแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 2 กม.ป้ายบอกทางเข้าวัดที่ปากซอยค่อนข้างเล็ก ต้องระมัดระวังรถสวนให้ดี
ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาชมรีวิวที่แสนจะธรรมดาของผมทุกท่านนะครับ
ที่มา Pantip
Cr. paipaiphuart